OTA ย่อมาจาก Over The Air แปลเป็นไทยคือ ผ่านทางอากาศ หมายถึงการส่งข้อมูลไม่ว่าจะเป็นความถี่ ซอฟต์แวร์ หรือข้อความต่างๆตรงสู่เครื่องรับสัญญาณที่รองรับฟังก์ชั่น OTA โดยที่เครื่องรับสัญญาณนั้นๆจะต้องมี Loader ที่ตรงกับสัญญาณดาวเทียมที่ส่งลงมา ในที่นี้คือเครื่องรับสัญญาณ ที่มีการทำ Software ของเครื่องให้รองรับ ระบบนี้โดยเฉพาะนั้นเอง
ข้อมูลที่เราจะส่งนั้นมี 3 ประเภท คือ
-
ความถี่ช่องรายการที่มีการเปลี่ยนแปลง (Transponder List)
-
ซอฟต์แวร์ใหม่ๆ (Software Update)
-
ข้อความ หรือ รูปภาพ รูปภาพต้อนรับ ตอนเปิดเครื่องครั้งแรก (Message & Picture)
ผู้ผลิตเครื่องรับสัญญาณ จะส่งข้อมูลผ่านระบบ OTA ในกรณีต่างๆ ดังนี้ เช่น
-
กรณีช่องรายการ ย้าย/เปลี่ยนความถี่ (Channel Edit)
ที่ผ่านมา ทุกครั้งที่มีการ ย้าย/เปลี่ยนความถี่ ช่างต้องเสียเวลาอย่างมากกับการเดินทางไปยังบ้านลูกค้าแต่ละรายเพื่อแก้ไขความถี่ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวสิ้นเปลืองเวลาทั้งช่างติดตั้ง และผู้ใช้ ปัญหาเหล่านี้จะหมดไปหากนำระบบ OTA เข้ามาใช้ฉะนั้นผลดีในด้านความสะดวกสบาย ก็จะเป็นประโยชน์โดยตรงทั้งกับช่างและผู้ใช้
-
กรณีมีช่องรายการใหม่ๆเพิ่มขึ้น (New Channel)
มีลักษณะคล้ายกับ ข้อ 1 แต่จะเป็นการเพิ่มความถี่ใหม่ ซึ่งไม่มีอยู่ในเครื่องเข้าไป และทุกๆครั้งที่ทำการอัพเดทข้อมูลเสร็จสิ้น ทาง ผู้ผลิตจะส่งข้อความไปที่เครื่องรับสัญญาณโดยตรง เพื่อบอกว่า มีช่องอะไรเพิ่มขึ้นมา อย่างของ Infosat ก็จะแจ้ง Version ของ Software ที่เปลี่ยนไปจากเดิม
-
เพิ่มเติม Function ใหม่ให้กับเครื่องรับ
เครื่องรับสัญญาณมีระบบปฏิบัติการเหมือนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กัน ดังนั้นเมื่อมีการปรับปรุงระบบของ Software หรือแก้ใขบั๊ก ที่เกิดจากความไม่สมบูรณ์ของ Software ทางผู้ผลิตก็สามารถที่จะทำการอัฟโหลดซอฟแวร์ ดังกล่าวมายังเครื่องรับสัญญาณ เช่นปัจจุบัน มีการส่ง Key Biss กันแบบ Biss Over OTA หรือเรียกง่ายๆ ว่า OTA key ช่างไม่ต้องเอาเครื่องมาอัฟซอฟแวร์เป็นเครื่องๆ ซึ่งเป็นการเสียเวลาเป็นอย่างมาก ระบบ Key Over OTAที่เห็นมีตอนนี้ ก็จะมี PSI O2, Infosat BBOTA เป็นต้น
ระบบ OTA มีกีแบบ เท่าที่เห็นมีใช้กันตอนนี้ อาจจะเรียกได้ว่า 2แบบ ย่อยก็แล้วกันคือ
-
อัฟเดทแฉพาะ DATA
มีหลายผู้ผลิตที่ใช้กันครับ เช่น อินโฟแซท เป็นต้น ข้อดีของการอัฟเดทเฉพาะ DATA ก็คือความรวดเร็วในการอัฟเดทครับ ใช้เวลาไม่กี่วินาที เครื่องรับสัญญาณก็จะทำการอัฟเดทให้แล้ว
แต่ก็มีข้อเสียอยู่ที่ การอัฟเดทแบบนี้ เครื่องจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงของ Main SoftWare ดังนั้นถ้าเครื่องรับสัญญาณมี Bug ก็จะไม่สามารถทำการแก้ใขได้ หรือถ้ามีการปรับปรุงประสิทธภาพของเครื่องรับสัญญาณให้มากขึ้นก็จะไม่สามารถทำได้
-
อัฟเดททั้งหมด All Update
ก็มีหลายผู้ผลิตเช่นกันครับ ที่เลือกใช้แบบนี้ ข้อดี ของการ OTA แบบ All Update ผู้ผลิตสามารถที่จะใช้ระบบ OTA เพื่อที่จะเพิ่มประสิทธิภาพ เพิ่มFunction ใหม่ๆให้กับเครื่องรับ ที่เห็นๆ ก็จะเป็นการไส่ Keyให้กับเครื่องรับสัญญาณผ่านระบบนี้กัน (PSI O2, Infosat BBOTA) หรือทำการปรับปรุงข้อบกพร่องของซอฟแวร์ตัวก่อนหน้านี้ ผ่านระบบ OTA แบบ All Update
ข้อเสียของการอัฟแบบนี้ก็มีเช่นกัน ที่ชัดเจนเลยก็คือ จะใช้เวลาในการอัฟเดทนานถึงนานมาก ขึ้นอยู่กับขนาดข้อมูลที่ใช้ในการอัฟเดท (จะอัฟ ทั้ง Data และ Main Software) อีกทั้ง อาจมีบางกรณีที่ขณะดาวน์โหลดอยู่แล้วเกิดไฟฟ้าขัดข้อง อาจทำให้การอัฟเดทไม่สมบูรณ์ เครื่องรับสัญญาณเครื่องนั้น ก็จะมีการทำงานที่ไม่สมบูรณ์ หรือเครื่องไม่สามารถเปิดใช้งานได้เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้
ข้อระวังสำหรับช่างติดตั้งเมื่อต้องติดจานดาวเทียมที่มีระบบ OTA
ปัญหาที่เจอของระบบ OTA ก็จะมีดังนี้
-
เครื่องไม่สามารถ ที่จะทำการ OTA ได้
-
OTA ได้ แต่ไม่สำเร็จ
-
OTA วนทุกๆครั้งที่เปิดเครื่องมาใหม่
จาก 3ข้อหลักๆที่กล่าว เกิดจากการที่ช่างติดตั้ง ไม่ทราบว่า สินค้าที่ผู้ผลิตยี่ห้อนั้นๆ ใช้ช่องสัญญาณ ความถี่เท่าใหร่ในการส่งข้อมูลให้กับเครื่องรับ เมื่อเครื่องรับไม่สามารถรับข้อมูลได้อย่างครบถ้วนถูกต้อง ก็ไม่สามารถที่จะทำการอัฟเดทได้ ผู้ผลิตสินค้าจะมีการเช่าช่องสัญญาณดาวเทียมเพื่อทำการส่งผ่านข้อมูลไปยังเครื่องรับ ดังนั้นช่างติดตั้งต้องทราบว่า ผู้ผลิตสินค้ายี่ห้อนั้นๆ ใช้ความถี่เท่าไหร่ในการส่งสัญญาณ ซึ่งแต่ละผู้ผลิตจะใช้ความถี่ต่างกัน หรือความถี่เดียวกัน แบบแบ่งกันเช่าก็ได้ แล้วช่างก็ต้องทำการติดตั้งจานดาวเทียมให้รับช่องสัญญาณดังกล่าวให้ดีที่สุด เพื่อรับข้อมูลได้อย่างถูกต้อง
อันนี้เป็นคำแนะนำของผู้เขียนเอง ช่างใหม่ๆที่ขาดประสพการณ์ เวลาที่ติดตั้งจานรับสัญญาณดาวเทียม มักจะดูแค่ระดับสัญญาณ ของ คอร์ลิตี้ เท่านั้น ผู้เขียนขอแนะนำให้ ดูที่ Ber จะดีกว่า(บิทเออร์เรอร์) การดูก็ไม่ยากครับ ว่า Berของช่องรายการนั้นๆ มีเท่าใหร่ ให้มียิ่งน้อยยิ่งดี เช่น Ber 120/1000000 ก็จะมีความถูกต้องของสัญญาณที่รับได้ ดีกว่า Ber 10000/1000000 ถึงแม้ว่าทั้ง 2 ช่องนี้ จะมี คอร์ลิตี้ หรือคุณภาพสัญญาณที่เท่ากันก็ตาม